วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week8 Review/แนะนำการใช้งาน โปรแกรม 1 โปรแกรม

โปรแกรม CCleaner, วิธีใช้ CCleaner แบบละเอียดสุดๆ

แบบ Step to Step

  CCleaner โปรแกรมตัวนี้เป็นโปรแกรมสำหรับลบไฟล์ขยะบนคอมพิวเตอร์


วันนี้เราจะมาพูดถึง โปรแกรม CCleanerวิธีใช้ CCleaner แบบละเอียดๆ เอาแบบจับมือทำกันเลย

แต่ก่อนอื่นก็อยากจะเกริ่นนำสักนิดว่า โปรแกรม CCleaner มันคือ โปรแกรมอะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง และมันมีประโยชน์ต่อท่านอย่างไร ?

โปรแกรม CCleaner 
             เป็นฟรีแวร์ (ใช้งานได้ฟรี) ที่จะช่วยกำจัดไฟล์ขยะในเครื่องของคุณ เช่น ไฟล์ tmp
ไฟล์ที่เกิดจากการเล่น internet ด้วยเบราว์เซอร์ต่างๆ เช่น IE, FireFox, Chrome ทำให้พื้นที่ฮาร์ดดิส 
ของท่านเพิ่มขึ้น การทำงานของคอมพิวเตอร์ของท่านดีขึ้น ไวขึ้น และไม่เฉพาะไฟล์ขยะที่เกิดขึ้นเท่านั้น
               โปรแกรม CCleaner ยังสามารถแก้ไขค่า Registry ในเครื่องของท่านให้กลับมาทำงานปกติได้อีกด้วย
            สำหรับหลายๆท่านยังไม่ทราบว่าค่า Registry คืออะไร ? ก็ขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า เป็นการตั้งค่าต่างๆ
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งเวลาเราติดตั้งโปรแกรมใดๆ ด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่..
โปรแกรมต่างๆจะเข้าไปแก้ไขค่า Registry ของ Windows เพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานกับ Windows
ได้อย่างราบรื่น..  แต่ก็อาจจะมีบ้างที่มีการตั้งค่า Registry ผิดปกติไป ทำให้การทำงานของ Windows
เกิดอาการ รวน เออเร่อ ค้าง แฮ้งค์..หรือ อืดเป็นเต่า..ซึ่งโปรแกรม CCleaner สามารถช่วยได้ระดับหนึ่งเกริ่นมาซะยืดยาว เราต้องดาวโหลดไฟล์ตัวติดตั้งของ โปรแกรม CCleaner มาก่อน
เป็นเข้าเว็บที่ให้บริการดาวโหลด  แต่สำหรับเว็บต้นสังกัดจริงๆคือ www.piriform.com/ccleaner

เมื่อเข้ามาแล้วก็กดดาวโหลดได้เลย
เมื่อได้ไฟล์มาแล้วก็เริ่มติดตั้ง



เข้าสู่หน้าต่างติดตั้งโปรแกรม


แนะนำให้คลิ๊ก Install ไปเลย แล้วติดตั้งโปรแกรมไปตามปกติจนเสร็จสิ้น
 

เมื่อเข้าสู่โปรแกรมครั้งแรกจะขึ้นหน้าจอนี้ ให้เลือกดังภาพ รอสักครู่ก็จะเข้าสู่หน้าจอหลัก


เข้าสู่หน้าจอหลักของโปรแกรม CCleaner

ด้านบนสุดจะแสดง สเป็คเครื่องของเรา

ด้านซ้ายมือเป็น Tab การทำงานต่างๆ มีดังนี้

CCleaner คือ เมนูที่ใช้สำหรับกำจัดไฟล์ขยะในเครื่องของเราที่แฝงตัวอยู่ในที่ต่างๆ

Registry คือ เป็นการทำความสะอาด Registry ในเครื่องของเรา ทำให้เครื่องทำงานได้ดีขึ้น เสถียรขึ้น

Tools คือ การปรับแต่ง Windows ของเรา เช่น การปรับแต่งโปรแกรมที่เปิดขึ้นมาพร้อมกับ Windows

ขั้นตอน วิธีใช้ CCleaner

1.การทำความสะอาดเครื่องของเรา โดยการกำจัดไฟล์ขยะ


อันดับแรกเราไปที่ Tab Cleaner >> Analyze

* ขั้นตอนนี้ ควรปิดเว็บเบราร์เซอร์ทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็น IE, FireFox, Chrome ฯลฯ


โปรแกรมจะทำการแสกนไฟล์ขยะที่ซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆในเครื่องของเราทั้งหมดออกมาเป็นรายชื่อไฟล์

รวมถึงแจ้งขนาดของไฟล์ขยะ


จากภาพจะพบว่ามีไฟล์ขยะมากมายทีเดียว ถึง 1,461 MB และเราก็ทำการกำจัดมันซะ โดยการคลิ๊กที่

"Run Cleaner


เมื่อใช้งานครั้งแรกจะขึ้นหน้าต่างแบบนี้ ให้เราทำตามรูปด้านบน

และให้เรารอสักครู่ (โปรแกรมกำลังทำการลบข้อมูลขยะอยู่)


เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว (ครบ 100%) ก็อย่าคิดว่าไฟล์ขยะจะหมดไปจากเครื่องเรานะครับ ให้เราทำการ Analyze อีกครั้ง และทำการ Run Cleaner อีกครั้งเช่นกัน....  ซึ่งอยากจะบอกว่าควรทำกลับไป-กลับมา จนกว่าจะแจ้งว่า 0 byte to be removed (หรือให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้) ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้
2.การกำจัดขยะ Registry ,การแก้ไข Registry


เลือก Tab Registry และเลือก Scan for Issues  ซึ่งเราจะทำเช่นเดียวกันกับ Cleaner


เมื่อ Scan เสร็จสิ้นแล้ว ก็กด  Fix selected issues...ซึ่งจะมีหน้าต่างขึ้นมา ให้กด "No"


ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาอีก ให้เรากด Fix All Selected Issues


เมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้กดปิดไป เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้


แต่เราต้องกด Scan for Issues สลับกับ Fix selected issues... จนกว่าค่า Error ต่างๆที่โชว์ จะหมดไปคล้ายๆกับ Tab Cleaner ที่ได้กล่าวไว้แล้ว... เพื่อให้เครื่องของเราถูกแก้ไขอย่างสมบูรณ์ที่สุด
3. ตั้งค่าต่างๆของ Windows ของเราให้เร็ว แรง !! ด้วย Tab Tools


ใน Tab นี้ เป็นการปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมในเครื่องของเรา ซึ่งจะมีหัวข้อย่อยดังนี้

Uninstall คือ เครื่องมือที่ช่วยให้เราทำการถอดถอนโปรแกรมที่เราไม่ต้องการออกจากเครื่องของเรา
  ซึ่งสำหรับวิธีการ สามารถดูได้จากภาพด้านบน


Startup คือ เครื่องมือปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมต่างๆ ที่มักจะ "เปิด" มาพร้อมกับโปรแกรมหลัก หรือ
  เปิดมาพร้อมกับ Windows  เช่น Tab ย่อย Windows (รูปด้านบน) เราจะเห็นรายชื่อโปรแกรมต่างๆมากมาย
  ซึ่งจะมีทั้งตัวอักษร "สีดำ" และ "สีเทา" ซึ่ง สีดำหมายถึงโปรแกรมที่เวลาเปิดเครื่องขึ้นมาโปรแกรมเหล่านี้ จะถูกเปิดให้ทำงานด้วย  แต่ สีเทา หมายถึงโปรแกรมที่ถูกกำหนดให้ทำงานเวลาเราเปิดเครื่องขึ้นมา แต่ถูกเรากำหนดให้ไม่ทำงานในภายหลัง ยกตัวอย่าง เช่น โปรแกรม Skype เมื่อเราติดตั้งครั้งแรก ตัวโปรแกรมจะถูกกำหนดให้เปิดขึ้นมาพร้อมกับการเปิดเครื่องทุกครั้ง แต่ถ้าไม่ต้องการให้มันทำงานตอนเราเปิดเครื่อง เราก็สามารถมาปิดการทำงานของ Skype ได้จากตรงนี้
สำหรับ Tab ย่อย ที่เหลือนั้น ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ก็จะบอกคร่าวๆถึงการใช้งานของมัน
File Finder คือ การค้นหาไฟล์ที่เราสามารถกำหนดเงือนไขได้ เช่น ค้นหาไฟล์ที่มีขนาด = 0 byte เป็นต้น
System Restore คือ ตรวจสอบไฟล์ restore ของเครื่องของเรา ว่ามีหรือไม่ ? ซึ่งเราสามารถลบทิ้งได้จากตรงนี้ ถ้าเราคิดว่าไม่ต้องการ หรือ ต้องการเพิ่มพื้นที่ให้กับฮาร์ดิสของเรา ก็สามารถทำได้
Drive Wiper คือ การที่เราลบข้อมูลต่างๆในเครื่องของเราแล้ว แต่จริงๆมันยังไม่ถูกลบแบบถาวร ซึ่งเครื่องมือนี้สามารถช่วยเราลบข้อมูลได้อย่างหมดจด (ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้อีก) ใช้สำหรับข้อมูลที่เป็นความลับข้อมูลที่มีความสำคัญ ที่เราต้องการลบแบบไม่ให้มีใครขุดมาได้..เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ โปรแกรม CCleaner ซึ่งก็ได้เสนอ วิธีใช้ CCleaner แบบละเอียดๆ ทุกๆหัวข้อที่จำเป็นใช้งานไปแล้ว ซึ่งอาจะขาดข้อมูลในส่วนเล็กๆน้อยๆที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานเท่าไหร่ ซึ่งท่านก็สามารถไปลองใช้ และศึกษาเพิ่มเติมได้ครับ โปรแกรมตัวนี้ปกติแล้วเป็นตัว "ฟรี" ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
แต่ถ้าใครติดใจ ก็สามารถซื้อเวอร์ชั่นเต็มหรือ Pro ได้ครับ สนนราคาอยู่ที่ 800 กว่าบาทเท่านั้นเอง 
แต่ก็สามารถใช้งานได้ตลอด อัพเดทได้ตลอดอีกด้วย แต่ถ้าท่านใดงบน้อย ก็ใช้เวอร์ชั่นฟรีได้
รับรองว่าไม่ผิดหวัง สำหรับ โปรแกรม CCleaner ตัวนี้.. แน่นอน   
และโปรแกรมตัวนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มความเร็วเเละเนื้อที่ที่ว่างเปล่าได้อีกด้วยยยยย










ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week7 คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                                                                                        

           
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึง การที่         เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องมาเชื่อมต่อกัน วัตถุประสงค์   ที่ต้องต่อกันนี้ มักเกิดจากความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน เช่น ใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลในดิสก์ร่วมกัน ใช้งานเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีอยู่เครื่องเดียวร่วมกัน ต้องการส่งข้อมูลให้กับบุคคลอื่นในระบบไปใช้งาน หรือต้องการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น
        ฉะนั้น ระบบเครือข่าย Network คือ ระบบที่นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC หรือ Personal Computer) แต่ละเครื่องมาต่อเชื่อมกันด้วยกลวิธีทางระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง

                                                
วัตถุประสงค์ของการเลือกใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เพื่อ

1. 
สามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้
ก็คือ เครื่องลูก(
Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

2. 
เพื่อความประหยัด
เพราะว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องไหนก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน

3. 
เพื่อความเชื่อถือได้ของระบบงาน
นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบ
 Computer Network มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

4. 
ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง
เมื่อต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในที่ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น บริษัทแม่อยู่ที่ กรุงเทพ ส่วนบริษัทลูกอาจจะอยู่ตามต่างจังหวัด แต่ละที่ก็มีการเก็บข้อมูล การเงิน ประวัติลูกค้า และอื่นๆ แต่ถ้าต้องการใช้ข้อมูลของอีกที่หนึ่งจะเกิดความลำบาก ล่าช้า และไม่สะดวก จึงมีการนำหลักการของ
 Computer Network มาใช้งาน เช่น มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือโปรแกรม ข้อมูล ร่วมกัน

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย การสื่อสารมีสาย และไร้สาย

1.โมเด็ม (
Modem)



        โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem

2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN

 

      เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbpsซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ดLAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

3. เกตเวย์ (Gateway)



       เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน

4. เราเตอร์ (Router)

 

      เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

5. บริดจ์ (
Bridge)

 
  
       บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย

6. รีพีตเตอร์ (
Repeater)



             รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆเช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

7.
  สายสัญญาณ



   เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ 
 
1. สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ดLAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย
2.  สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ

8.  ฮับ (HUB)



      เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต


ที่มา

http://mingmttpanya.blogspot.com/