วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week2 เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ (1)



               สิงโตเป็นเสือขนาดใหญ่ ขนสั้นเกรียนสีน้ำตาลอ่อน บางตัวอาจมีสีออกเทาเงิน หรือบางตัวก็มีสีอมแดง หรือถึงน้ำตาลแดง ใบหน้ากว้าง ปากค่อนข้างยาว จมูกมักมีสีดำสนิท ม่านตาสีเหลืองหรืออำพัน รูม่านตากลม หูสั้นกลม หลังหูดำ ขาหน้าใหญ่และแข็งแรงกว่าขาหลัง อุ้งตีนกว้าง หางค่อนข้างยาว ปลายหางเป็นพู่สีดำ และมักมีสิ่งคล้ายเดือยแข็งอยู่อันหนึ่งซ่อนอยู่ภายในพู่หางด้วย
สิงโตเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจนที่สุด ตัวผู้มีแผงคอซึ่งเป็นขนยาวหนาขึ้นบริเวณรอบคอและหัวไหล่อย่างหนาแน่นจนกลบใบหูมิด ขนแผงคอสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ บางชนิดขนแผงคอลามไปจนถึงท้อง แผงคอของสิงโตตัวผู้แต่ละพันธุ์ต่างกันมากในแต่ละพื้นที่ พวกที่อยู่ตอนบนสุดและล่างสุดของเขตกระจายพันธุ์มีแผงคอใหญ่และดกมาก อาจลามไปถึงหลังและใต้ท้อง ขนช่วยให้สิงโตมีขนาดใหญ่โตขึ้นแต่ไม่เพิ่มน้ำหนักให้มากนัก คาดว่ามีไว้เพื่อจำแนกเพศและแสดงสถานะของวัย และเพื่ออวดตัวเมียถึงความแข็งแกร่งห้าวหาญสมชาย และอาจมีประโยชน์ในการป้องกันหัวและคอในระหว่างการต่อสู้ สิงโตตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้มาก (20-50%) และไม่มีแผงคอ แผงคอของสิงโตมีลักษณะต่างกันไปในแต่ละตัวด้วย นักวิจัยในพื้นที่ก็ใช้ลักษณะของแผงคอในการจำแนกสิงโตแต่ละตัวจากระยะไกล และมีหลักฐานว่าสิงโตก็ใช้รูปร่างของแผงคอในการจำแนกสิงโตตัวผู้จากระยะไกลเช่นกัน  ในสิงโตพันธุ์เอเชีย 

ชื่อไทยสิงโตชื่อวิทยาศาสตร์    Panthera leo
ชั้น         Mammalia
อันดับ     Carnivoraวงศ์Felidae
วงศ์ย่อย  Pantherinae
สกุล        Panthera
ชื่ออื่นอังกฤษ :  lion
 ฝรั่งเศส :     lion d’Afrique
เยอรมัน :    Löwe
 สเปน :       león
อัมฮารา : เอธิโอเปีย :     ambessa
ชิเชวา (มลาวี) :           nkharam
 ดามารา (นามิเบีย) :     xamm
 เฮาซา (เบนิน บูร์กินาฟาร์โซ แคเมอรูน กานา ไนเจอร์ ไนจีเรีย โตโก) : zaki
เนปาล :     hiun chituwa
 อีโบ, โยรูบา (ไนจีเรีย) :   odum, aja
จูโฮอัน (บอตสวานา, นามิเบีย) :    n!hai
 คิคุยู (เคนยา) :      ngatia, muruthi
 ลิงการา (แอฟริกาตะวันตก) :     ngouambulu
โดลัว (เคนยา, อูกันดา) :      labwor มาไซ,
แซมบูรู (เคนยา, แทนซาเนีย) :    olugatany
โปรตุเกส :      leao
 เซตสวานา    (บอตสวานา) : tau
คิสวาฮีลี :       simba
โซมาเลีย :    aar, baranbarqo, libaax, gool, davar
 คุชราต :   sinh, sawaj
ฮินดี :       sher, untia bagh
มัลดารี :    hawaj
ฟาร์ซี :     sheer จีน : 狮

สิงโต
                    สิงโตเป็นสัตว์ที่สูงที่สุด (สูงจรดหัวไหล่) ในวงศ์แมวและมีน้ำหนักมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเสือโคร่ง สิงโตมีกะโหลกศีรษะคล้ายกับเสือโคร่งมาก แม้ว่าบริเวณกระดูกหน้าผากจะยุบลงและแบนราบ กับหลังเบ้าตาสั้นกว่าเล็กน้อย กะโหลกศีรษะของสิงโตมีโพรงจมูกกว้างกว่าเสือโคร่ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแปรผันในของกะโหลกศีรษะของสัตว์ทั้งสองชนิด ปกติแล้วจึงมีเพียงโครงสร้างของขากรรไกรล่างเท่านั้นที่เป็นตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นสปีชีส์ใด สีขนของสิงโตจะมีตั้งแต่สีน้ำตาลอมเหลืองจางๆถึงค่อนข้างเหลือง ออกแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีอ่อนกว่าและพู่หางมีสีดำ ลูกสิงโตที่เกิดมาจะมีจุดลายรูปดอกกุหลาบสีน้ำตาลบนลำตัวคล้ายกับเสือดาว แม้ว่าจุดเหล่านี้จะจางหายไปเมื่อสิงโตโตเต็มวัย แต่บ่อยครั้งกลับยังสามารถพบเห็นได้จางๆบนขาและส่วนท้องโดยเฉพาะในสิงโตเพศเมียสิงโตเป็นสมาชิกเพียงชนิดเดียวในวงศ์เสือและแมวที่แสดงความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน และแต่ละเพศก็จะบทบาทพิเศษต่างกันไปในฝูง ในกรณีสิงโตเพศเมีย เป็นนักล่าไม่มีแผงคอหนาเป็นภาระเช่นในเพศผู้ ซึ่งดูเหมือนเป็นอุปสรรคต่อสิงโตเพศผู้ที่จะอำพรางตัวเข้าใกล้เหยื่อและสร้างความร้อนเป็นอย่างมากเมื่อต้องวิ่งไล่ติดตามเหยื่อ สีของแผงคอในสิงโตเพศผู้อยู่ระหว่างสีเหลืองอ่อนถึงดำ ปกติจะเข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่อสิงโตมีอายุมากขึ้น




    สิงโต

    •              สิงโตมีฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอน ในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์และเซเรนเกตตีสิงโตมักออกลูกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ส่วนในอินเดียมักออกลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูหนาวกับต้นฤดูร้อน ตัวเมียในฝูงมักติดสัดและให้กำเนิดลูกในเวลาไล่เลี่ยกัน กลไกที่ควบคุมจังหวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ตัวเมียติดสัดมากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี ช่วงเวลาติดสัดมักยาวนานประมาณสี่วันและมีคาบการติดสัดประมาณ 16 วัน ช่วงติดสัดสิงโตจะผสมพันธุ์กันบ่อยมาก โดยเฉลี่ยทุก 25 นาที จากการสังเกตสิงโตในกรงเลี้ยงคู่หนึ่ง ผสมพันธุ์กันถึง 360 ครั้งใน 8 วัน ในธรรมชาติมีผู้เคยพบสิงโตตัวผู้เร่ร่อนตัวหนึ่งผสมพันธุ์ 157 ครั้งใน 55 ชั่วโมง ในระหว่างที่ติดสัดนี้สิงโตจะไม่กินเลย
    •              สิงโตเป็นสัตว์จำพวกแมวที่อยู่เป็นสังคมมากกว่าแมวป่าชนิดอื่นๆ ที่มักอยู่อย่างโดดเดี่ยว สิงโตเป็นสัตว์นักล่าที่มีสังคมสองรูปแบบ รูปแบบแรกเป็นการรวมตัวกันที่เรียกว่า "ฝูง (prides)"  ปกติฝูงหนึ่งจะประกอบไปด้วยสิงโตตัวเมียห้าถึงหกตัว ลูกสิงโต และสิงโตตัวผู้หนึ่งถึงสองตัว ซึ่งเป็นคู่ของนางสิงห์ (แม้ว่า จะมีการพบฝูงขนาดใหญ่ที่มีจำนวนสิงโตถึง 30 ตัว) ตัวผู้ในฝูงจะมีไม่เกินสองตัว แต่อาจเพิ่มจำนวนถึง 4 ตัวและลดจำนวนลงเมื่อเวลาผ่านไป ลูกสิงโตตัวผู้จะถูกขับออกจากฝูงเมื่อโตเต็มที่
    •                 ในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ของแอฟริกา สิงโตตัวผู้เต็มวัย (4 ปีขึ้นไป) มีน้ำหนัก181 กิโลกรัมตัวเมียหนัก 126 กิโลกรัม สิงโตวัยรุ่นตัวผู้ (2-4 ปี) หนัก 146 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 103 กิโลกรัม สิงโตตัวผู้ที่ใหญ่ที่สุดหนัก 225 กิโลกรัม ตัวเมียที่ใหญ่ที่สุดหนัก 152 กิโลกรัม ในปี 2536ที่ประเทศเคนยา เคยพบสิงโตตัวผู้ตัวหนึ่งถูกยิงตายใกล้เขาเคนยา มีน้ำหนักถึง 272 กิโลกรัม ตัวผู้มีความยาวตัวถึงหาง 3.3 เมตร
    •                   สิงโตเอเชียมีขนาดเล็กกว่าสิงโตแอฟริกา ตัวผู้เต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 160-190 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนักประมาณ 110-120 กิโลกรัม ความยาวหัวถึงหางของตัวผู้ 2.92 เมตร        





    •          สิงโตใช้เวลาส่วนมากไปกับการพักผ่อนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน[48] แม้ว่าสิงโตจะสามารถกระตือรือร้นได้ทุกช่วงเวลา แต่โดยทั่วไปแล้วมันจะกระตือรือร้นและมีชีวิตชีวามากที่สุดตอนพลบค่ำกับช่วงเข้าสังคม แต่งขน และขับถ่าย เมื่อต้องล่าเหยื่อสิงโตจะกระตือรือร้นเป็นพักๆ ไปตลอดทั้งคืนจวบจนกระทั่งรุ่งเช้า โดยเฉลี่ยแล้ว สิงโตจะใช้เวลาเดิน 2 ชั่วโมงและกิน 50 นาทีต่อวัน

    สิงโตในอดีต

    สิงโตปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกที่ยุโรปเมื่อราว 600,000 ปีที่แล้ว สิงโตในยุคนั้นมีขนาดใหญ่กว่าสิงโตปัจจุบัน 25 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาบนโลก มีชื่อว่า สิงโตถ้ำยุโรป (Panthera leo spelaea) สิงโตพันธุ์นี้ได้แพร่กระจายไปไกลอย่างน้อยก็ถึงกรุงปักกิ่ง เพราะพบซากดึกดำบรรพ์ของสิงโตอายุ 400,000 ปีบริเวณเดียวกับที่พบซากมนุษย์ปักกิ่งในโจวโข่วเตี้ยนซึ่งก็พบซากของเสือโคร่งเช่นกัน และยังพบภาพวาดของสิงโตตามถ้ำต่าง ๆ และซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุ 200,000 ปี แสดงว่าสิงโตพันธุ์นี้เคยอาศัยร่วมสมัยกับมนุษย์ยุคใหม่มาก่อน นอกจากนี้ยังเคยมีการพบกระดูกสิงโตคู่กับเครื่องมือของมนุษย์นีแอนเดอทรัลมาแล้วด้วย
    ในทวีปอเมริกาก็เคยมีสิงโตเช่นกัน สิงโตอเมริกาเหนือ (Panthera atrox) มีรูปร่างคล้ายสิงโตถ้ำยุโรป พบซากดึกดำบรรพ์ของสิงโตพันธุ์นี้ตามไซบีเรียตะวันออก แอแลสกา และที่อื่นในทวีปอเมริกาเหนือ สิงโตอเมริกาอาศัยร่วมกับมนุษย์ หมาป่าไดร์วูล์ฟ (Canis dirus) ม้า และไบซันมาจนถึงราวปี 11,500 ปีก่อน เชื่อกันว่าสิงโตอเมริกาเหนือน่าจะอาศัยเป็นฝูงเช่นเดียวกับสิงโตในแอฟริกาปัจจุบัน
    ในยุคไพลโตซีน เขตกระจายพันธุ์ของสิงโตแพร่ไปไกลเหนือสุดถึงอังกฤษ และทางตะวันออกสุดถึงปาเลสไตน์ อาหรับ และอินเดีย


    สถานภาพ

    ปัจจุบันคาดว่ามีสิงโตในทวีปแอฟริกาเหลืออยู่ประมาณ 30,000 ถึง 100,000 ตัว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแอฟริกาตอนใต้และตะวันออก สิงโตในแอฟริกาตะวันตกเหลืออยู่น้อยและลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทั่วทั้งทวีป สิงโตที่อยู่นอกเขตคุ้มครองลดจำนวนลงเรื่อย ๆ
    ประเทศที่ยังมีสิงโตอยู่ทั่วไปได้แก่ บอตสวานา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เอธิโอเปีย เคนยา แทนซาเนีย ซาอีร์ และแซมเบีย สถานภาพในแองโกลา โมซับบิก ซูดาน และโซมาเลียยังไม่ทราบแน่ชัดเนื่องจากความไม่สงบในประเทศ คาดว่าในแองโกลายังมีสิงโตอยู่ทั่วไปแต่จำนวนน้อย ส่วนในโซมาเลียมีเป็นบางส่วนโดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ
    ในนามิเบีย ประชากรสิงโตในอุทยานแห่งชาติอีโตชามีประมาณ 300 ตัว บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ 130-200 คาปรีวี 40-60 ตัว บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ 35-40 ตัว
    ในซิมบับเว อุทยานแห่งชาติฮวางเก 500 ตัว อุทยานแห่งชาติโกนารีเซา 200 ตัว หุบเขาแซมบีซีและเซบังเวคอมเพล็กซ์ 300 ตัว
    ในประเทศเบนิน บูร์กินาฟาโซ แคเมอรูนตอนเหนือ ประเทศชาดตอนใต้ คองโกตอนใต้ ไอวอรีโคสต์ตอนเหนือ กานาตอนเหนือ กีนีตอนเหนือ กีนีบิสเชาตะวันออก มาลีตอนใต้ ไนจีเรียตอนเหนือ และอูกันดา คาดว่ามีสิงโตอยู่กระจัดกระจายและจำนวนน้อย ในประเทศบุรุนดี มลาวี ไนเจอร์ รวันดา เซเนกัล และแอฟริกาใต้ ประชากรส่วนใหญ่จำกัดอยู่ในป่าอนุรักษ์
    ประเทศที่คาดว่าสิงโตสูญพันธุ์ไปแล้วหรือถือได้ว่าสูญพันธุ์ไปแล้วได้แก่ ประเทศจิบูตี กาบอง เลโซโท มอริเตเนีย สวาซิแลนด์ และโตโก
    ความหนาแน่นของประชากรสิงโต (นับเฉพาะสิงโตตัวเต็มวัยและวัยรุ่นต่อ 100 ตารางกิโลเมตร) ต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในพื้นที่ซาวูตี ในอุทยานแห่งชาติโชเบ ของบอตสวานามีความหนาแน่นต่ำประมาณ 0.17 ส่วนในอุทยานแห่งชาติคาราฮารีเกมสบ็อก อุทยานแห่งชาติอีโตชา มีประมาณ 1.5-2 ตัวต่อ 100 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่คุ้มครองของทางแอฟริกาตะวันออกและตอนใต้มีประมาณ 3-18 ตัว พื้นที่ ๆ ความหนาแน่นสูงที่สุดคือในป่าสงวนแห่งชาติมาไซมาราของเคนยา มีประชากร 30 ตัวต่อ 100 ตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของสิงโตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจำนวนของเหยื่อ พื้นที่หากินเฉลี่ย 26 ถึง 226 ตารางกิโลเมตรต่อฝูง เคยพบฝูงหนึ่งในอุทยานแห่งชาติอิโตชาที่มีพื้นที่หากินกว้างถึง 2,075 ตารางกิโลเมตร



    สถานภาพของสิงโตเอเชียทุกพันธุ์อยู่ในระดับอันตราย ไซเตสจัดเอาไว้ในบัญชีที่ 1 ส่วนสิงโตแอฟริกาอยู่ในบัญชีหมายเลข 2 ส่วนสิงโตพันธุ์บาร์บารีและสิงโตเคปได้สูญพันธุ์ไปแล้ว
    ทีมา ....... http://www.verdantplanet.org/catsoftheworld/cat_lion.php 




    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น